Cotton balls สำลีก้อน

ปัจจุบันสำลีมีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนำมาใช้ทำความสะอาดผิวหน้า ผิวกาย หรือใช้ทำความสะอาดบาดแผล สำหรับสำลีที่ใช้นั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น สำลีเช็ดหน้า สำลีเช็ดแผล สำลีอเนกประสงค์ สำลีก้าน สำลีแผ่น และสำลีก้อน ซึ่งแต่ละชนิดก็มีการใช้งานแตกต่างกันไป แล้วรู้หรือไม่ว่า สำลีนั้น ทำมาจากอะไร เรามาทำความรู้จักสำลี ไปพร้อมๆกับบทความนี้เลย

สำลีเริ่มใช้ครั้งแรกในวงการแพทย์ ตั้งแต่ ค.ศ 1180 ที่โรงพยาบาล Queen’s Hospital ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ โดย Dr.Joseph Sampson Gamgee ซึ่งในช่วงนั้นใช้วิธีการ นำฝ้ายจากต้นฝ้าย มาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ แล้วจึงนำมาใช้งาน และใช้งานแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศไทยมีโรงงานผลิตสำลีมากมาย ซึ่งฝ้ายที่นำมาทำสำลีนั้น 99% เป็นฝ้ายที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนฝ้ายที่ปลูกในประเทศไทยนั้นเป็นฝ้ายพื้นเมือง มีเพียง 1% เท่านั้น

สำลีที่ไม่ได้มาตรฐานมีหลายประเภท เช่น
• สําลีที่ไม่สะอาด มีฝุ่นผง สิ่งสกปรกเจือปนในสําลีอาจทําให้เกิดการแพ้ได้
• สําลีที่มีสารเรืองแสง หรือสารเคมีตกค้างในสําลีเช่น สารซักล้าง สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นสารก่อมะเร็งในระยะยาวได้และก่อให้เกิดการระคายเคืองในผิวที่บอบบางเช่นผิวเด็ก
• สําลีที่ไม่ได้ผ่านการอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง อาจมีเชื้อโรคบางชนิดหลงเหลืออยู่
• สำลีที่ผลิตด้วยระบบการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีสิ่งสกปรกตกหล่นลงไปในเนื้อสําลีเช่นเศษฝุ่น

ต้นฝ้ายใช้ระยะเวลาการเติบโตประมาณ 100 วัน นับจากวันที่เริ่มปลูก มันจะค่อยๆเติบโต ออกดอก จากนั้นดอกจะร่วง และเกิดเป็นผล เรียกว่าสมอฝ้าย ผลแก่จะมีสีน้ำตาล เมื่อแก่จัดจะแตก และเห็นเป็นปุยฝ้ายสีขาวๆ อยู่ในสมอ เกษตรกรจะเก็บปุยฝ้ายใส่กระสอบ แล้วนำฝ้ายมาตากแดดเพื่อลดความชื้นและทำการแยกเมล็ดฝ้ายออก จากนั้นเตรียมขายให้กับโรงงาน เราเรียกส่วนนี้ว่า ฝ้ายดิบ

หลังจากที่ฝ้ายดิบมาถึงโรงงานทำสำลีแล้ว คนงานจะทำการตรวจสอบความสะอาด ตรวจสอบความยาวเส้นใย และการตรวจสอบความชื้นของฝ้ายดิบ เมื่อฝ้ายดิบผ่านกระบวนการตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ก็ถึงเวลานำฝ้ายไปเข้ากระบวนการทำสำลีแล้ว

กระบวนการทำสำลีแบบที่ 1 นำฝ้ายดิบมาทำการฟอก และนำมาสางให้เป็นเส้นๆ จากนั้นนำไปแปรรูปทำสำลีก้อนกลม และเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ เพื่อใช้ในการแพทย์

กระบวนการทำสำลีแบบที่ 2 นำฝ้ายดิบมาทำการแปรรูปเป็นแผ่นบางๆ และพับเป็นชั้นๆ ทบกันไปมาประมาณ 9-12 ชั้น จากนั้นจึงนำฝ้ายที่ได้มาเข้ากระบวนการฟอกขาว และตรวจสอบสารเคมีตกค้างและความเป็นกรดเป็นด่างในสำลี และขั้นตอนสุดท้ายนำมาแปรรูปให้เป็นสำลีแผ่น สำลีม้วน และสำลีก้าน

เคล็ดลับในการตรวจสอบสำลี ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
1.การตรวจสอบสารเรืองแสง ด้วยการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์
2.การตรวจสอบสำลีที่มีสารตกค้าง โดยการใช้สำลีจุ่มน้ำสะอาดแล้วบีบน้ำออกให้หมาด ถ้าสำลีที่มีสารตกค้างจะมีกลิ่นอับแรงมาก
3.การทดสอบคุณสมบัติของสำลี สำลีที่ดีต้องทำจากฝ้าย 100% จึงซับน้ำได้ดี เมื่อนำสำลีก้อนหรือสำลีแผ่นมาจุ่มน้ำ สำลีจะจมลงภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที แต่หากเป็นสำลีที่ผสมใยสังเคราะห์ จะใช้เวลามากกว่า 10 วินาทีในการจมน้ำ หรืออาจจะไม่จมเลย
4.การทำสอบด้วยการเผาไหม้ สำลีที่ทำจากฝ้ายแท้ เมื่อเกิดการเผาไหม้จะไม่มีควันสีดำ และเถ้าของสำลีจะเป็นสีขาว แต่หากเป็นสำลีที่ผสมใยสังเคราะห์เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะมีควันสีดำและมีกลิ่นเหม็นเหมือนไฟไหม้พลาสติก เถ้าของสำลีนั้นจะมีสีดำและเป็นก้อนแข็งๆ

Gauze ผ้าก๊อซปิดแผล

ผ้าก๊อซ มีกี่ชนิด ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ผ้าก็อต เป็นสิ่งที่เชื่อว่าหลายๆคนก็อาจจะเข้าใจว่า ไม่ว่าจะเป็นผ้าพันแผลแบบไหนก็เหมือนๆกัน ซึ่งต้องบอกเลยว่านั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจผิด เพราะในปัจจุบันนี้ผ้าก๊อซมีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภทเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นต้องเลือกซื้อผ้าก๊อซปิดแผลสดให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

1. ผ้าก๊อซสำหรับปิดแผล

สำหรับผ้าก๊อซสำหรับปิดแผลนั้น เป็นผ้าก๊อซที่สามารถใช้ปิดแผลที่มีขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการซึมซับน้ำเหลืองบริเวณบาดแผลได้เป็นอย่างดี ใช้ปิดบาดแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกสัมผัสกับบาดแผล มีคุณสมบัติเป็นผ้าก๊อซปิดแผลกันน้ำ ทำให้แผลไม่ติดกับผ้าก๊อซ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้งานผ้าก๊อซปิดตาเพื่อป้องกันฝุ่นหรือสิ่งสกปรกได้ด้วยเช่นกัน

2. ผ้าก๊อซสำหรับพันแผล

ผ้าก๊อซสำหรับใช้พันบาดแผล มักจะเป็นผ้าก๊อซที่มีความสามารถในการยืดหยุ่น ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากเป็นผ้าก๊อซม้วน ใช้ผ้าก๊อซปิดแผลไม่ติดแผลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับยุคนี้ เหมาะสำหรับใช้ผ้าก๊อซพันขา ผ้าก๊อซพันเข่า ป้องกันบาดแผลไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรคและลดโอกาสที่แผลจะเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ผ้าก๊อซสำหรับพันแผลก็ยังสามารถช่วยซึมซับน้ำเหลืองจากแผลได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่เกิดการไหลเละบริเวณร่างกาย

3. ผ้าก๊อซแบบสำเร็จรูป

สำหรับผ้าก๊อซแบบสำเร็จรูป เป็นผ้าก๊อซที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำออกมาใช้งานได้ง่าย สะดวก และยังสามารถพกพาสะดวกเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน เป็นผ้าก๊อซไม่ติดแผล สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วๆไป หรือร้านจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งผ้าก๊อซสำเร็จรูปนั้นจะมีความสะอาดสูง ทำให้มั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีเชื้อโรคเจือปนมากับผ้าก๊อตปิดแผลอย่างแน่นอน

Bandage พลาสเตอร์ปิดแผล

พลาสเตอร์ คือ แผ่นปิดแผลที่ทำจากผ้าก๊อซที่มีแถบกาวอยู่ด้านหลัง ช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผลทำให้แผลแห้งและสมานตัวเร็วขึ้น ช่วยกดแผลทำให้อาการปวดลดลง และช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้ เนื่องจากพลาสเตอร์มีหลายประเภทที่แตกต่างกันทั้งรูปร่างและขนาด การเลือกใช้พลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล และการศึกษาขั้นตอนการปิดพลาสเตอร์อย่างถูกต้องจะช่วยดูแลให้แผลหายเร็วขึ้นได้

ขั้นตอนการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล

เมื่อเกิดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผลและปิดพลาสเตอร์อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยลดความรุนแรงของบาดแผล และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วจึงสวมถุงมือก่อนใช้แหนบคีบเศษดินหรือสิ่งสกปรกออกจากบาดแผล
  • ล้างแผลให้สะอาดด้วยการเปิดน้ำให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นผง และเชื้อแบคทีเรีย
  • หากแผลสกปรกมาก อาจจำเป็นต้องใช้ผ้าสะอาดถูแผลเบา ๆ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและมีเลือดออกขณะทำความสะอาดแผลได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการขัดล้างแผลแรงเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเปิดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • ใช้ผ้าสะอาดซับแผลให้แห้ง แล้วใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ทาลงบริเวณที่เป็นแผลบาง ๆ ก่อนปิดแผลด้วยพลาสเตอร์

พลาสเตอร์กับชนิดของแผล

สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Family Physicians) ได้ให้คำแนะนำในการใช้พลาสเตอร์ในแต่ละประเภท ดังนี้

  • พลาสเตอร์แบบแถบกาวหรือผ้าก๊อซ ควรใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้าหรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย หากแผลมีขนาดเล็กและไม่ได้อยู่ในบริเวณดังกล่าว อาจไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ เนื่องจากแผลจะแห้งเร็วและหายได้เองแม้ไม่ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไว้
  • พลาสเตอร์ชนิดพิเศษแบบปิดแน่นหรือกึ่งปิดแน่น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อคงความชุ่มชื้นและลดการเกิดรอยแผลเป็น

โดยพลาสเตอร์แต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกันไปตามลักษณะ ประเภท และบริเวณที่เกิดแผล ทั้งนี้ ผู้ใช้ควรเลือกพลาสเตอร์ให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากบาดแผลที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • แผลเปิด บาดแผลที่ฉีกขาดเล็กน้อยสามารถใช้พลาสเตอร์แบบผีเสื้อปิดตามแนวขวาง แต่หากเป็นแผลยาว ลึก หรือมีเลือดออกมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาและเย็บปิดบาดแผลอย่างเหมาะสม
  • แผลบนใบหน้า หากแผลมีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ หรืออาจใช้พลาสเตอร์ปิดแผลแบบแถบกาว แต่หากแผลมีขนาดใหญ่และลึกมาก อาจจำเป็นต้องเย็บแผลเพื่อห้ามเลือด ลดการติดเชื้อ และช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น
  • แผลจากของมีคมบาดมือหรือเท้า แผลชนิดนี้มีโอกาสสัมผัสสิ่งสกปรกมากกว่าแผลบริเวณอื่น ๆ และอาจเสียดสีกับถุงเท้าหรือรองเท้าจนเกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้น ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์และเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกครั้งที่เริ่มเปียกหรือสกปรก แต่หากแผลลึกมาก ควรไปพบแพทย์ เพราะแผลอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
  • แผลบนข้อนิ้ว นิ้วมือ และส้นเท้า การปิดแผลบริเวณเหล่านี้อาจทำให้พลาสเตอร์หลุดออกได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะส่วนที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ควรปิดแผลไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ โดยควรใช้พลาสเตอร์รูปทรงนาฬิกาทราย หรือตัวเอช (H) ซึ่งเหมาะกับการปิดแผลตามข้อต่อของร่างกายและแผลบริเวณปลายนิ้วมือ และช่วยป้องกันการเกิดรอยย่นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พลาสเตอร์หลุดออกได้ง่าย
  • เข่าหรือข้อศอกถลอก อาจปิดรอยแผลถลอกบริเวณหัวเข่าหรือข้อศอกด้วยพลาสเตอร์ขนาดใหญ่ หรือพลาสเตอร์ปิดแผลแบบแถบกาวที่มี 4 แฉก เนื่องจากพลาสเตอร์ชนิดนี้ติดแน่นและป้องกันการหลุดออกได้ดี นอกจากนี้ อาจใช้พลาสเตอร์แบบเหลว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยหยุดเลือด ปกป้องแผลจากน้ำและสิ่งสกปรกเพื่อลดการติดเชื้อ
  • แผลถลอกขนาดใหญ่ การทายาฆ่าเชื้อหรือใช้พลาสเตอร์ที่สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นจะช่วยให้แผลลักษณะนี้หายเร็วขึ้น หากแผลไม่ตกสะเก็ดและยังเป็นแผลสดอยู่ ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดพลาสเตอร์อย่างสม่ำเสมอ และสังเกตว่าแผลมีการติดเชื้อหรือไม่
  • แผลพุพอง แผลที่มีตุ่มน้ำอาจไม่จำเป็นต้องรักษาหรือปิดพลาสเตอร์ เนื่องจากแผลชนิดนี้สามารถหายเองได้ หากมีแผลพุพองบริเวณที่เกิดการเสียดสีได้ง่าย เช่น ฝ่าเท้า อาจใช้ผ้าก๊อซเนื้อนุ่มปิดแผลเพื่อป้องกันการกดทับ หากตุ่มน้ำแตกและของเหลวไหลออกจากแผลแล้ว จึงค่อยใช้พลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก หากอาการไม่รุนแรงมากสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง โดยควรล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำเย็นแล้วใช้ยาฆ่าเชื้อทาบาง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ห้ามใช้น้ำมันหรือแป้งทาลงบนแผลเด็ดขาด จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซแล้วใช้เทปกาวปิดทับเพื่อยึดไม่ให้ผ้าก๊อซที่ปิดไว้หลุด แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดนี้เพราะมีเนื้อกาวเหนียวที่อาจสัมผัสกับบาดแผล   

เปลี่ยนพลาสเตอร์อย่างไร ?

พลาสเตอร์ช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อ และช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผล ดังนั้น เมื่อพลาสเตอร์สกปรกหรือโดนน้ำ ควรรีบเปลี่ยนพลาสเตอร์ทันที โดยให้ลอกพลาสเตอร์ออกอย่างช้า ๆ แล้วปิดพลาสเตอร์ใหม่ลงบนแผล อาจใช้เทปกาวปิดลงบนพลาสเตอร์หากต้องการให้พลาสเตอร์ติดทนขึ้น และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวัน เพื่อรักษาแผลให้สะอาด ลดโอกาสการติดเชื้อ และช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

เมื่อไรควรไปพบแพทย์ ?

เมื่อมีบาดแผลที่กำลังฟื้นฟู ควรระมัดระวังไม่ให้พลาสเตอร์ปิดแผลเปียกน้ำหรือสกปรก รวมถึงสังเกตบาดแผลและเฝ้าระวังการติดเชื้ออยู่เสมอ ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบอาการที่เป็นสัญญาณการติดเชื้อดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณแผล
  • แผลบวมแดง และมีหนองไหล
  • มีเลือดออกมาจากแผลมากผิดปกติ
  • แผลมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือลึกขึ้น
  • มีรอยแดงเป็นเส้นบนแผลและรอบ ๆ แผล
  • มีไข้

นอกจากนี้ หากพบอาการแพ้กาวพลาสเตอร์ เช่น คันและรู้สึกแสบร้อนบริเวณแผล ควรเปลี่ยนมาใช้ผ้าก๊อซปิดแผลแทนการใช้พลาสเตอร์

Noxzy (ยาแก้ท้องร่วง)


น๊อกซี่ ยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ถ่ายเหลว

– น็อกซี่ 1 แผง บรรจุ 4 เม็ด

– ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โรงงานเภสัชกรรม เกร๊ทเตอร์ฟาร์มา จำกัด

สรรพคุณ : รักษาอาการท้องร่วงชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง

– ขนาดรับประทาน : ผู้ใหญ่ รับประทาน noxzy ครั้งละ 1 เม็ด ทุกครั้งที่ถ่าย รวมไม่เกิน 6 เม็ด

– ส่วนประกอบสำคัญ : ใน 1 แคปซูลมี Loperamide Hcl 2 mg.

คำเตือน

1. ห้ามใช้ในเด็กและคนชรา

2. หลังจากใช้รักษาอาการนี้แล้ว 48 ขั่วโมง และอาการไม่ดีขึ้นให้หยุดยา และปรึกษาเเพทย์

การดูแลตนเอง

– การรักษาและข้อควรปฏิบัติเมื่อท้องร่วง – โดยปกติแล้วผู้ที่มีอาการท้องร่วงจะสามารถหายได้เองและส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องร่วงสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ดังนี้

  • ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด
  • งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขลักษณะ
  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำก่อนรับประทานอาหาร
  • หากสงสัยว่ามีอาจติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง