CA-R-BON (ยาแก้ท้องเสีย)

สรรพคุณของยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย

  • ดูดซับสารเคมี สารพิษ และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ร่างกายรับเข้ามา ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด เนื่องมาจากอาหารไม่ย่อย หรือการปวดท้องเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะปริมาณมาก เฉพาะในกรณีที่แพทย์สั่งคาร์บอนนี้ไปใช้สำหรับการบรรเทาอาการต่าง ๆ ร่วมกับยาชนิดอื่น

เวลาและปริมาณในการกินคาร์บอนแก้ท้องเสีย

  • กินตอนไหน : ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินคาร์บอนก็คือช่วงเวลาที่ท้องว่าง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาหลังอาหารเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือ ช่วงเวลาก่อนอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  • กินกี่เม็ด : โดยปกติแล้วนั้นคาร์บอนแก้ท้องเสียควรกินครั้งละ 3 – 4 เม็ด แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเอกสารกำกับยาประกอบด้วย เพราะคาร์บอนที่มีขายในท้องตลาดนี้มีหลายยี่ห้อ โดยแต่ละยี่ห้อก็มีปริมาณคาร์บอนที่แตกต่างกันออกไป
  • ความถี่ในการกิน : คาร์บอนนี้ควรกินทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือ วันหนึ่งควรกินประมาณ 2 – 3 ครั้ง และก็เช่นเดียวกับกรณีข้างต้นที่ต้องพิจารณาเอกสารกำกับยาประกอบด้วย

ข้อควรระวังหลังกินคาร์บอนแก้ท้องเสีย

         หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า ยาคาร์บอนสามารถช่วยในเรื่องของการแก้อาการท้องเสีย ซึ่งจะเป็นการช่วยดูดซับส่วนของสารเคมี หรือสารพิษ หรือแม้แต่เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ  และโดยปกติแล้วการกินคาร์บอนแก้ท้องเสียนั้น ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่การกินยาคาร์บอนก็ยังมีข้อควรระวังหลังการกินตัวยาเข้าไป

ข้อควรระวังหลังการกินยาคาร์บอน

  • เมื่อกินคาร์บอนเข้าไปจะไม่มีการดูดซับสารพิษหรือสารเคมีหรือแบคทีเรียต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย แต่คาร์บอนจะดูดซับสารต่าง ๆ ข้างต้นแล้วขับออกมาทางอุจจาระ จึงทำให้อุจจาระมีสีดำขึ้นได้
  • เมื่อกินคาร์บอนแล้วต้องกินยาอื่นร่วมด้วย ควรเว้นระยะเวลาหลังการกินคาร์บอนก่อนการกินยาอื่นเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง
  • เมื่อกินคาร์บอนแล้วต้องการดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมอย่างโยเกิร์ตหรือไอศกรีมก็ควรเว้นระยะเวลาหลังการกินคาร์บอนก่อนดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง

กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรกินผงถ่านคาร์บอน

  1. สตรีมีครรภ์
  2. สตรีให้นมบุตร
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน
  4. ผู้ที่มีบาดแผลในลำไส้หรือในกระเพาะอาหาร
  5. ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการรักษาสารพิษไม่ว่าจะเป็นกรดแก่ ด่างแก่ สารละลายเกลือแร่ สารลิเทียม Alcohol หรือแม้แต่ไซยาไนต์
  6. ผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องท้อง